ทางออกของสถาบันการเงิน กับการจัดการ Big Data

ความสามารถของบริษัทในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเสริมให้ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จ กรณีของสถาบันทางการเงินที่มีข้อมูลมหาศาลจากลูกค้า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลองมองหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาทำให้ข้อมูลกลายเป็นเงินให้ได้

พัฒนาการของเทคโนโลยีในภาคธุรกิจบริการทางการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินธุรกิจแบบเดิมที่เคยมุ่งมองแต่ภายในตัวเองบริษัทในภาคธุรกิจการเงินจะต้องเสียเวลายุ่งอยู่อยู่กับแหล่งเก็บข้อมูลหรือไซโลข้อมูล (data silos) ที่มีกระจัดกระจายอยู่ตามแผนกต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐานทาง IT แบบเก่าที่ล้าสมัยไปแล้ว

แต่ท่ามกลางยุคการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิตอลอย่างรวดเร็ว และกำลังถูกท้าทายโดยคู่แข่งรายใหม่นอกอุตสาหกรรมบริษัทในภาคธุรกิจทางการเงิน ต้องเปลี่ยนหันมามุ่งหน้าไปสู่การนำข้อมูลเหล่านั้นและการวิเคราะห์มาทำให้เกิดข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ และแปลงให้เป็นมูลค่าเชิงธุรกิจเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ แก้ไขข้อบกพร่องที่ผ่านมา ทำกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในทุกๆ ด้าน

ด้วยแนวโน้มของจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาลทุกๆ วันและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงิน

โดยที่เคยต้องการแสดงตัวหน้าเคาน์เตอร์ธนาคารมาเป็นการทำผ่านระบบธนาคารออนไลน์ ทำให้บริษัทที่ให้บริการทางการเงินต้องทำหน้าที่แตกต่างไปจากอดีต

ความสามารถของบริษัทในการทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) ของกรณีทางธุรกิจที่แตกต่างหลากหลายกรณีจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จ การจัดการความเสี่ยงและดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับกฎข้อบังคับของทางการก็เป็นอีกกุญแจสำคัญอันหนึ่งที่ต้องตระหนักในการปรับตัวให้ทันลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนเจนเนอเรชั่นอื่นที่ชอบใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีความต้องการและคุ้นเคยกับการขอรับบริการที่ไหนและเมื่อไรก็ได้

ทางออกขององค์กรกับการ BIG DATA

เมื่อองค์กรเจอกับปัญหาข้อมูลมหาศาล และต้องการเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ ชั่วโมงนี้ถือว่าเป็นช่วงขาขึ้นของเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hadoop ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับทำการจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถรองรับการขยายตัวของข้อมูล มีความน่าเชื่อถือสูง

Hadoop เป็นหนึ่งในเครื่องมือ Big Data ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างเพราะสามารถที่จะจัดการข้อมูลที่ไร้รูปแบบ ไร้โครงสร้าง (Unstructure) ขนาดใหญ่ได้ อาทิข้อมูลที่เป็น Text File, XML

Hadoop เป็นโครงการ Open source ของ Apache สำหรับการเก็บและบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ Hadoop เขียนด้วยโปรแกรมภาษาจาวาที่ริเริ่มโดย Doug Cutting และ Mike Cafarella อดีตพนักงานของ Yahoo โดยเมื่อเมษายนปี 2006 Hadoop เวอร์ชั่น 0.1.0 ก็ถูกปล่อยออกมา

ซึ่งต่อมาก็มีบริษัทอื่นๆนำไปใช้กันอย่างมากทั้ง eBay, Facebook และ Amazon รวมถึงมีบริษัทหลายๆรายที่นำ Hadoop มาพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ อาทิ Cloudera, MapR, IBM InfoshphereBigInsight, Hortonwork หรือ Amazon Elastic Map Reduce

ในปัจจุบัน Apache Hadoop และเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ แก่บริษัทธุรกิจการบริการทางการเงิน ทำให้สามารถรับมือกับความซับซ้อนในการแข่งขันได้โดยปลดล็อคอำนาจของ Big Data และนำมาสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มีโอกาสให้ความสำเร็จใหม่ๆ เกิดขึ้น

สถาบันการเงิน กับการจัดการ BIG DATA

อย่างที่กล่าวว่า มีหลายบริษัทที่นำ Hadoop มาพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ซึ่งแต่ละรายก็จะจับตลาดและอาศัยความเชี่ยวชาญที่ต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรมขอยกตัวอย่าง Cloudera ที่จับตลาดธุรกิจการเงินมีความถนัดในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดายและปลอดภัย

เป็นโซลูชั่นทางเลือกในการสร้างระบบพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านอุปกรณ์พกพา (mobile access) สำหรับผู้บริโภค ขณะเดียวกันลดความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยให้ต่ำสุดและรักษาความสอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับของทางการ

Cloudera เองทำงานร่วมกับบริษัทบริการทางการเงินระดับโลกกว่า 180 องค์กร อาทิ Bank Mandiri, Credit Suisse, DBS Bank, Nordea, Northern Trust และ Royal Scotland เป็นต้น

โดย Cloudera ช่วยให้บริษัทชั้นนำเหล่านี้สามารถสร้างความเข้าใจเชิงลึกจากข้อมูลของลูกค้า สามารถหาจุดบกพร่องในการทำงานที่ผ่านมาและสร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรมของลูกค้าให้สูงขึ้นและลดต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางการ

บริษัทชั้นนำทางบริการทางการเงินส่วนใหญ่ระดับโลกเลือกและใช้เทคโนโลยี Apache Hadoop โดยบริษัทเหล่านั้นมีประเด็นที่น่าสนใจในการพิจารณานั่นคือ

• การจัดเก็บ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มพูนมูลค่าให้เงินลงทุนที่มีอยู่ ขณะเดียวกันมองหาทางสร้างมูลค่าใหม่ๆ จากข้อมูล ตอบสนองความต้องการของสถาบันทางการเงินในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางข้อมูลองค์กร อย่างครบครัน ซึ่งหมายถึง การจัดเก็บ การเข้าถึง การจัดการ การวิเคราะห์ การรักษาความปลอดภัย และการค้นหาข้อมูล

• การปรับใช้ แพลตฟอร์มในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัยจะช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย สามารถเข้าถึงได้ง่าย และสอดคล้องกับกฎระเบียบของทางการและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ออกมาควบคุม

•เป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนกระบวนการทำงานในปัจจุบันให้เป็น machine learning หรือ artificial intelligence และ predictive modeling ในอุตสาหกรรมการบริการทางการเงินมีกระบวนการทำงานอันหนึ่งที่เรียกว่า model scoring ที่มีหน้าที่ทำให้องค์กรมั่นใจว่าสามารถขจัดความเสี่ยงและตรวจจับความผิดพลาดได้รวดเร็วขึ้นและฉลาดขึ้นโดยการใช้จำนวนข้อมูลจำนวนมหาศาลสร้างการเรียนรู้ให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์

• เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่ได้รับการรับรองว่ามีความสอดคล้องตาม the Payment Card Industry Data Security Standard (PCI-DSS) เป้าหมายสำคัญมากๆ อันดับแรกของอุตสาหกรรมบัตรเครดิตคือการทำให้มั่นใจว่าข้อมูลของผู้ถือบัตรเครดิตมีความปลอดภัยและถูกป้องกันอย่างเหมาะสม

PCI-DSS เป็นกรอบมาตรฐานที่ทุกบริษัทในธุรกิจบัตรเครดิตใช้เพื่อปกป้องข้อมูลบัตรเครดิตของผู้ลูกค้า บริษัทใดๆ ที่มีการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลหรือส่งถ่ายข้อมูลบัตรเครดิตจะต้องทำโดยสอดคล้องกับมาตรฐาน PCI-DSS เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความปลอดภัยและมีการป้องกันที่เหมาะสม