3 แนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2022-2024

ประเมิน 3 แนวโน้ม Cybersecurity ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ปี 2022-2024 ประกอบด้วย 1. Digital Inequality and Cyber Vaccination 2. Supply Chain Cyber Attacks and CMMC และ 3. Remote Working Challenge and Zero Trust ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปี

 

ทุกๆ ปีในการจัดงานสัมมนาประจำปี CDIC ของ บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด จะมีการเปิดเผยถึง ทิศทางหรือแนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางและการชี้นำถึงการเตรียมความพร้อมขององค์กร ทั้งกระบวนการ คน และเทคโนโลยี ได้ทันภัยไซเบอร์

ในปีนี้ก็เช่นกันที่ งานสัมมนาประจำปี CDIC 2021 ซึ่งเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 ภายใต้แนวคิด Entrusting Digital Provenance, Digital Identity and Privacy Tech หรือ ยุคของความเชื่อมั่นบนโลกดิจิทัลกับเทคโนโลยีพิสูจน์ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล อัตลักษณ์และความเป็นส่วนตัว ก็จะมีการพูดถึง 10 แนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2022-2024 หรือในอีก 3 ปีข้างหน้า


DIGITAL INEQUALITY AND CYBER VACCINATION
ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและความจำเป็นเร่งด่วนในการฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชนในบทความนี้ ผู้เขียนขออธิบายเพื่อเป็นการเกริ่นนำสำหรับ 3 จาก 10 แนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ปี 2022-2024 ประกอบด้วย 1. Digital Inequality and Cyber Vaccination 2. Supply Chain Cyber Attacks and CMMC และ 3. Remote Working Challenge and Zero Trust ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นได้เริ่มปรากฏขึ้นบ้างแล้ว และจะค่อยๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งปฏิกิริยา Digital Transformation ขององค์กรและเนื่องจากมนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาระบบสารสนเทศ ในการทำงานแบบ Work from Home ทำให้เปิดช่องโหว่ในการโจมตีของแฮ็คเกอร์มากขึ้น

และที่สำคัญเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพราะปัญหาทางไซเบอร์ไม่อาจแก้ได้โดยทางเทคนิคอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยกระบวนการที่ดีและการให้ความรู้ประชาชนด้วย (Process and People, not only Technology) เรื่อง Digital Literacy หรือ Cyber Literacy จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนในระดับโลก

ที่ทุกประเทศจำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้คนในชาติเกิดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประชาชน และในระดับองค์กร ฝ่ายรักษาความมั่นคงปลอดภัยในขณะที่ต้องป้องกันการโจมตีของแฮกเกอร์ก็ต้องช่วยให้ธุรกิจธุรกรรมขององค์กรสามารถดำเนินต่อได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัดอีกด้วย

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วนในการให้ความรู้ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงต่างๆ ที่แฝงเข้ามาทางไซเบอร์ไม่ว่าจะมาทางเอสเอ็มเอสหรือโซเชียลมีเดียในรูปแบบต่างๆ ที่ประชาชนหลงเชื่อทำให้สูญเสียข้อมูลส่วนบุคคลนำไปสู่การเสียทรัพย์สินและเสียชื่อเสียงในที่สุด

ดังนั้นการฉีดวัคซีนทางไซเบอร์ให้กับประชาชน จึงเป็นความจำเป็นของรัฐบาลทุกประเทศต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบและมีระบบการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยไซเบอร์กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ตลอดจนการฝึกเตรียมความพร้อมรับภัยไซเบอร์ (Cyber drill/Cyber attack simulation) เพื่อให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินกับภัยไซเบอร์และสามารถเผชิญเหตุเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ด้วยตนเองและมีความรู้เท่าทันในการใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย

SUPPLY CHAIN CYBER ATTACKS AND CYBERSECURITY MATURITY MODEL CERTIFICATION (CMMC) การโจมตีทางไซเบอร์ในระบบห่วงโซ่อุปทานและการรับรองมาตรฐานระดับวุฒิภาวะทางไซเบอร์

ในปัจจุบันจากงานวิจัยทั่วโลกพบว่า การโจมตีทางไซเบอร์มีสาเหตุมาจาก การที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีการต่อเชื่อมกับหน่วยงานที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยที่หน่วยงานเหล่านั้นมีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทำให้องค์กรที่ต่อเชื่อมเกิดปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานหรือการรับรองความมั่นคงปลอดภัย ในระบบห่วงโซ่อุปทาน

Loading