เพราะความปลอดภัยทางไซเบอร์เสี่ยงทุกวินาที!! ‘CYBER ELITE’ ผนึก ‘IBM’ ยกระดับ ‘CSOC ’ ปักธงรายได้ 3 ปีโต 1,000 ล้าน ขึ้นแท่นแบรนด์อันดับ 1 ในไทย

ความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ผู้คนใช้เวลาและทำงานอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น​ จึงมาพร้อมกับยุคของ Digital Transformation  ที่เทคโนโลยีทุกอย่างกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต ความล้ำสมัยจึงตามมาด้วยการเกิด Cyber Attacks  ปัจจุบันทุกกลุ่มธุรกิจทั่วโลกจึงกำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยพบว่ามากกว่า 60% ของบริษัททั่วโลกต่างเคยประสบปัญหาด้าน Cyber Attacks มาแล้ว

ด้วยเหตุนี้หนึ่งในกลุ่มของธุรกิจ Megatrend ที่กำลังเติบโตตามความล้ำสมัยของเทคโนโลยีทั่วโลกและมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้ คือ “กลุ่มธุรกิจ Cyber Security”  ที่ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนต่างหันมาให้ความสำคัญกับ Cyber security มากขึ้น เพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์

หนึ่งในแบรนด์ไทยที่ให้บริการด้าน ‘Cyber Security Solution’ ที่น่าจับตามองในขณะนี้คงหนีไม่พ้น บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด​ กลุ่ม “Digital Solution Business” จาก “เบญจจินดา” ที่มีนโยบายยกระดับดิจิทัลเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เป็นระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งมี Cybersecurity Operation Center (CSOC) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ล้ำสมัยในอันดับต้นๆของประเทศ

ล่าสุดยังเพิ่งจับมือกับยักษ์ใหญ่อย่าง ไอบีเอ็ม ยกระดับ CSOC  เพิ่มการป้องกันภัยคุกคามโลกไซเบอร์ที่พร้อมให้บริการลูกค้าตั้งแต่ระดับ SMB ไปจนถึงระดับ Enterprise เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายรายได้ 1,000 ล้านบาท และครองตำแหน่งอันดับ 1 ผู้ให้บริการ CSOC  ในประเทศไทยภายใน 3 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ CSOC ระดับ Regional ในอาเซียนภายใน 5 ปี

 

CYBER ELITE’ The Next Big Thing

ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด กล่าวว่า ปณิธานของไซเบอร์อีลีทคือการมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำบริการด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับภูมิภาคอาเซียน ผ่านการนำเสนอบริการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ครบครัน ด้วยความเข้าใจเป้าหมายทางด้านไซเบอร์ขององค์กร  มีระบบที่ระดับความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในระดับมาตรฐานระดับโลก  มีผู้เชี่ยวชาญร่วมเฝ้าระวังและรับมือภัยไซเบอร์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้บริการครอบคลุม System Integration, Security Advisory, Managed Security Services และ Cybersecurity Platform

ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด


“เรามั่นใจว่าธุรกิจ
Cyber Security Solution คือ The Next Big Thing โดยในครึ่งปีแรกของการเปิดดำเนินการ บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยมีอัตราการเติบโต Year-Over-Year Growth  สูงถึง 434%  ดำเนินการไปแล้ว 47 โปรเจกต์ มีการเติบโตของบุคลากรมากกว่า 170% ถือได้ว่าน่าจะเป็น Local Brand ที่มีการขยายตัวของทีมงานที่ใหญ่และเร็วที่สุดในขณะนี้”   

รายได้หลักในปัจจุบันมาจากการให้บริการด้าน Cyber Security Solution และSecurity Advisory ในขณะที่มีดำเนินการยกระดับบริการ Managed Security Services ให้สอดคล้องกับบริบทในการดำเนินธุรกิจ  ส่วนของทิศทางในครึ่งปีหลังของปี 2565 ของ ไซเบอร์ อีลีท จะดำเนินการสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มการให้บริการป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ที่มีตั้งแต่องค์กรระดับ SMB ถึงองค์กรระดับ Enterprise   ครอบคลุมธุรกิจภาคการเงิน พลังงาน โทรคมนาคม ภาครัฐ รวมทั้งองค์กรที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย  (คปภ.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) ที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์   เนื่องจากบริการนี้เป็นส่วนหนึ่งของบริการ Managed Security Services  ที่ ไซเบอร์ อีลีท ให้บริการอยู่แล้ว สำหรับลูกค้าเดิมจึงสามารถต่อยอดไปใช้บริการดังกล่าวได้ทันที  ขณะที่ลูกค้าใหม่ ทั้งที่ไม่เคยใช้บริการรายใดหรือต้องการย้ายมารับบริการไซเบอร์ อีลีท ก็มารับบริการได้ในอัตราค่าบริการที่สามารถรองรับได้  คิดเป็นสัดส่วนลูกค้าใหม่ และลูกค้าเก่า ที่ยกระดับบริการในอัตรา 50:50

ดร. ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด และคุณภาวศุทธิ ศรีวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม ซอฟต์แวร์

 

จับมือพันธมิตรยกระดับเทคโนโลยี  

สำหรับการสร้างธุรกิจด้าน Managed Security Services คือ “Managed everything with forward-looking cyber risk awareness” โดยที่มุ่งเป้าไปที่การสร้างบริการที่หลากหลายและแตกต่างที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเห็นความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ภายในองค์กรได้ก่อนที่เหตุจะเกิด เพื่อที่จะสามารถวางแผนป้องกันได้ล่วงหน้าได้ ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของกลยุทธ์นี้คือ ข้อมูลที่มีคุณภาพ บุคลากรที่มีความสามารถ และที่ขาดไม่ได้คือ เทคโนโลยีชั้นนำที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงและภัยคุกคาม รวมทั้งช่วยลดเวลาในการเผชิญเหตุทางไซเบอร์ได้

โดยไซเบอร์ อีลีท ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตร พร้อมนำเทคโนโลยีระดับโลกของไอบีเอ็มเข้ามายกระดับการให้บริการศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคาม เป็นศูนย์ CSOC ครบวงจร เพื่อช่วยองค์กรเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง ตรวจจับการโจมตีได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะสร้างความเสียหายแก่องค์กรด้วยเทคโนโลยีชั้นนำของโลกจากไอบีเอ็ม

ขณะที่จุดเด่นของไซเบอร์ อีลีท มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจบริบทด้านการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ขององค์กร รวมทั้งมีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัยเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าของแต่ละองค์กร

“ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการยกระดับเทคโนโลยี Threat Intelligence จากภายนอกเข้าไปเพื่อเสริมความสามารถในการรับรู้เทรนด์ของภัยคุกคามล่าสุด เพื่อให้ระบบตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น”  ดร.ศุภกรกล่าว


ชูความแตกต่างรุกสร้าง 1,000 ล้านใน 3 ปี

สำหรับจุดเด่นของบริการ CSOC ของ Cyber Elite ที่มีความเชื่อถือได้ด้วย การได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC27001:2013 (Information Security ManagementSystem) และ ISO27701:2019 (Privacy Information Management System) การเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์แบบ 24 x 7  จัดเก็บ Log ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ แจ้งเตือนเมื่อเกิดภัยคุกคาม ให้คำแนะนำอย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ลงพื้นที่เพื่อรับมือ ตอบสนอง เพื่อช่วยระงับเหตุการณ์ และแก้ไขภัยคุกคามไซเบอร์ การจัดทำรายงานการแจ้งเตือนจากฐานข้อมูล Threat Intelligence และรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามที่ตรวจพบ พร้อมระบุคำแนะนำอย่างครบถ้วน  การจัดทำเงื่อนไขการตรวจจับและวิธีปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อเหตุผิดปกติให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมขององค์กร การตรวจจับภัยคุกคามเชิงรุกด้วยบริการ Threat Intelligence, Threat Hunting, User and Entity Behavior Analytics และอื่น

นอกจากนี้ ไซเบอร์ อีลีท ได้จัดรูปแบบโซลูชันและจัดทำกระบวนการด้านความมั่นคงปลอดภัยแก่ลูกค้าโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นหลัก ซึ่งองค์กรแต่ละรายจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมต่อสภาพความเสี่ยงต่อภัยคุกคามของแต่ละองค์กร

สำหรับปี 2565 ตลาด Cybersecurity ที่มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ยังเติบโตในอัตราประมาณ 10% ในขณะที่ตลาดของ Managed Security Service มีการเติบโตในอัตราประมาณ 10-15% บริการ CSOC ของไซเบอร์ อีลีท ตั้งเป้ารายได้ปีแรกของการให้บริการ CSOC ไว้มูลค่า 150 ล้านบาท และรายได้ในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมาย 350 ล้านบาท ถึง 400 ล้านบาท จากลูกค้าที่ได้ตามเป้าหมายในกลุ่มภาคการเงิน ภาครัฐ และภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรภายใต้กำกับของหน่วยงานกำกับต่าง ๆ

“ความร่วมมือครั้งนี้กับไอบีเอ็ม ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ในไทย การดูแลลูกค้า ตลอดจนเป็นไปตามเป้าหมายการขยายฐานลูกค้าของไซเบอร์ อีลีทไปในประเทศอาเซียน โดยคาดว่าบริษัทฯจะสามารถครองตำแหน่งอันดับ 1 ผู้ให้บริการ CSOC  ในประเทศไทยได้ภายใน 3 ปี ที่ยอดรายได้มากกว่า 1,000  ล้านบาท โดยปัจจุบันมีคู่แข่งที่เป็น Local Brand อยู่ประมาณ 4-5 ราย และขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ CSOC ระดับ Regional ในอาเซียนให้ได้ภายใน 5 ปี” ดร.ศุภกร กล่าว

 


Health Care เป้าโจมตีอันดับต้นจากอาชญากรไซเบอร์

คุณภาวศุทธิ ศรีวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม ซอฟต์แวร์ กล่าวว่า “ปัจจุบันเทรนด์ของ Cyber Attacks เอเชียกำลังตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์จากมัลแวร์ในเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสูงมาก  โดยมีอุตสาหกรรมบริการที่ตกเป็นเป้าสูงสุดคือ Health Care ซึ่งมีข้อมูลของคนไข้ที่มีความละเอียดอ่อนมาก นอกจากนี้ยังมี Banking , Finances , Retail ที่ล้วนตกเป็นกลุ่มที่ถูกโจมตีมากที่สุดทางไซเบอร์ และกำลังเพิ่มจำนวนและทวีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ อาทิ จากปกติ Ransomware จะโจมตีไปยังองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ขณะนี้ Ransomware สามารถโจมตีไปถึง Supply Chain ได้ จนกลายเป็นภัยคุกคามสูงสุดของทุกองค์กรทั่วโลก สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วน ที่ทุกองค์กรต้องเร่งลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยมอนิเตอร์ ตรวจจับ หรือตอบสนองการโจมตี

ในแต่ละวันไอบีเอ็มเฝ้าติดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย 150,000 ล้านเหตุการณ์ ในกว่า 130 ประเทศ โดยเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลก ที่มีศักยภาพครอบคลุมที่สุดในแง่การวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีด้านซิเคียวริตี้ เมื่อผนวกเทคโนโลยี SOAR, SIEM และ UEBA ระดับโลกของไอบีเอ็ม เข้ากับความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามไซเบอร์ในไทยเป็นอย่างดีของไซเบอร์ อีลีท จึงมั่นใจว่าจะเป็นสองพลังที่สามารถช่วยองค์กรจัดการความเสี่ยงและป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแน่นอน” คุณภาวศุทธิ กล่าว